Carl Jung และ Archetypes

ยุงบอกว่า จิตไร้สำนึกของคนเรามีสองส่วน

ส่วนแรกคือ Personal Unconscientiousness ซึ่งเก็บเรื่องราวเฉพาะบุคคลของแต่ละคนเอาไว้

กับส่วนที่สองคือ Collective Unconscientiousness ซึ่งเป็นส่วนที่แชร์กันระหว่างมนุษยชาติ เกิดจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษของเราที่สะสมรวมกันมาในพันธุกรรม แล้วถ่ายทอดลงมาในจิตไร้สำนึกของมนุษย์ทุกคน

สังเกตได้จาก เด็กแรกเกิดจำนวนมากจะกลัวงู ทั้งที่ไม่เคยเห็นงูมาก่อนในชีวิต เพราะงูเป็นศัตรูของมนุษย์มาต้ังแต่ยุคหิน ความกลัวงูจึงเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม และทำให้มนุษย์สมัยใหม่กลัวงูตั้งแต่เกิด โดยที่ไม่จำเป็นต้องเคยเจองูมาก่อน สัตว์จำพวกนกก็กลัวเหยี่ยวตั้งแต่เกิดเหมือนกัน

นอกจากนี้ จิตใต้สำนึกร่วมกันที่ว่านี้ยังมีอยู่ในคนทุกชาติทุกภาษาทั้งที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน ซึ่งสังเกตได้จากสัญลักษณ์หลายๆ อย่างที่มีร่วมกันอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม เรียกว่า Archetypes ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ในศาสนามักจะมีรูปวงกลม หรือจุดศูนย์กลาง หรือชายแก่มักเป็นสัญลักษณ์แทนปัญญา หรือนิทานปรัมปราของหลายๆ เชื้อชาติ มีโครงเรื่องที่เหมือนกัน เช่น มีวีรบุรุษที่ต้องระเหเร่ร่อนตอนเด็กๆ แล้วกลับมายิ่งใหญ่ในตอนจบ หรือลูกกษัตริย์ที่ฆ่าพ่อของตัวเอง เป็นต้น

ในแง่ของความต้องการและจุดมุ่งหมายในชีวิตของคนเรา ยุงได้ไขออกมาว่าคนเรามีความต้องการสูงสุดในชีวิตได้ 12 แบบ เรียกว่า the 12 archetypes ซึ่งแต่ละคนจะมีแบบใดแบบหนึ่งที่เด่นมากเป็นพิเศษ และทุกคนสามารถใช้ 12 archetypes เป็นแนวทางในการค้นหาความต้องการที่ซ่อนอยู่ในจิตไร้สำนึกของตัวเองได้ด้วย

Joseph Campbell เป็นคนที่หนึ่งที่เอาแนวคิดนี้มาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์หรือนิยายหรือนิทานหลายๆ เรื่องที่มีโครงเรื่องคล้ายกัน เรียกว่า the Hero’s Journey ตัวอย่างเช่น สตาร์วอร์ส และอีกหลายๆ เรื่องที่มีพล็อตเรื่องเกี่ยวกับฮีโร่ ซึ่งอาจเป็นความบังเอิญในจิตใต้สำนึกของผู้ประพันธ์ ที่ต้องการเรื่องราวอะไรทำนองนี้ และมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษา

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *