คำบอกเวลาในภาษาจีน

五年前 ห้าปีก่อน

过去五年 ห้าปีที่ผ่านมา

以前 เมื่อก่อน

最近 เมื่อเร็วๆ นี้ หมู่นี้

刚才เมื่อกี้นี้

很快 เร็ว ๆนี้ เช่น 我快上课了 = I will take class soon.

以后 วันหลัง

明天之前 by tomorrow

直到明天 until tomorrow

未来五年 ในช่วงห้าปีข้างหน้า

三年过 สามปีผ่านไป

五年后 อีกห้าปีข้างหน้า ห้าปีต่อมา

永远 ตลอดไป

=================

早 = early

火车今天早到  รถไฟมาถึงก่อนเวลา

我早忘了ฉันลืมไปนานแล้ว

 

 

ชีวิตที่แสวงหาความสุขไม่ใช่ความสำเร็จ

จะเป็นไปได้มั้ยถ้าหากต่อไปนี้เราจะเป็นตัวอย่างของคนที่แสวงหาความสุขประจำวันมากกว่าความสำเร็จ

เป็นคนที่มีไลฟ์สไตล์ง่ายๆ ที่มีความสุขแบบง่ายๆ กับเรื่องธรรมดาๆ ที่ง่ายๆ และไม่ได้จำเป็นต้องใช้เงินมากมายในการทำสิ่งเหล่านั้นเลย กิจกรรมที่เนิบช้า กิจกรรมที่สังเกตสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมที่อยู่กับปัจจุบัน กิจกรรมที่ให้ความสุขแบบร่มเย็น

ทำชีวิตให้ง่ายๆ แค่นั้นเลย

My New Investment Playbook

โลกยุคต่อไปไม่เหมือนเดิม คนแก่ลง ประชากรหดตัว ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น เสถียรภาพลดลง ไอเดียที่ว่า ถือหุ้นไว้ยาวๆ หุ้นมักจะขึ้นเสมอ ไม่พอ จำเป็นต้องทำอะไรที่มากกว่านั้น

ถ้าสังเกตจากญี่ปุ่นที่ประชากรหดตัวก่อนประเทศอื่นๆ ดัชนีไม่ไปไหนเป็น 20 ปี แต่บริษัทที่ยังโตได้ก็ยังมีอยู่ ส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นบริษัทที่คิดใหม่ทำใหม่จริงๆ นั่นคือมีนวัตกรรมที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นทางเทคโนโลยี หรือโมเดลธุรกิจก็ได้ บริษัทเหล่านี้ล้วนเติบโตได้ต่อให้ตลาดไม่โตด้วยการกินส่วนแบ่งตลาดของผู้เล่นรายเก่าไปเรื่อยๆ ดังนั้น Disruption จึงเป็นเกมสำคัญที่จะสร้างการเติบโตในโลกยุคไม่โตได้

จงมองหาบริษัทที่จะสามารถเติบโตในระดับสูงกว่าตลาดได้เป็นช่วงระยะที่ยาวนานกว่าปกติ ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะมี valuation สูง ดังนั้นอย่าบ้าของถูก และควรมี investment horizon ที่ยาวมากๆ อยู่กับความผันผวนระหว่างทางให้ได้ ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันทั้งสิ้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เรียกว่า ปล่อยให้เหลือศูนย์ไปเลย ยังดีกว่าพยายามซื้อๆ ขายๆ ระหว่างทางเพื่อหลบความผันผวนหรือทำกำไรเพิ่ม อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงหุ้นที่มีโอกาสโตสูงแต่เมื่อโตเต็มที่แล้วทำกำไรไม่ได้ เพราะธุรกิจไม่มี DCA เลย

การกระจายหุ้นเยอะๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการลงทุนกับนวัตกรรม ทำนายยากมาก และโอกาสที่จะเสียหายเยอะๆ กับตัวใดตัวหนึ่งก็มีสูง จึงจำเป็นต้อง diversify

รักษาสัดส่วน Equity ไว้ไม่ต่ำกว่า 75% ของพอร์ตตลอดเวลา การซื้อขายหุ้นในส่วนนี้เป็นการสลับตัวได้ โดยเปลี่ยนจากตัวที่จบ s-curve ไปยังตัวที่เริ่มต้น s-curve เป็นหลัก ไม่ใช่เรื่องของกำไรรายไตรมาสที่ผันผวน  ถ้าอยากเล่นรอบจริงๆ ก็เล่นในส่วน 25% ที่เหลือก็พออย่าเกินนี้ หรือในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ก็ค่อยใช้มาร์จิ้น

อย่าวอกแวกไปเล่นหุ้นวัฎจักร หุ้นกลับตัว หุ้นปั่น หรือหุ้นโตช้า ถ้าจะติดดอยขอติดดอยกับตัวที่เราเชื่อมั่นในอนาคตระยะยาวของมันยังดีกว่าติดหุ้นพวกนี้

 

我的辛福是什么?

在坐下来想和写之后,我发现了我的辛福就是

一。 看很好的电视剧

二。听很好的歌,弹吉他 , 甚至创作音乐

三。看很好的书, 学习新事物

四。锻炼, 去水疗中心, 吃美味但又不太不健康的食物

五。认有趣的人,进行愉快的交谈

听起来很怪异而且不需要花多少钱。 其实,我早就该以这样的幸福为目标了。

 

ปรัชญาชีวิตใหม่หลังเข้าสู่วัยกลางคน

ผมเกิดมาในยุคที่โลกมีความมั่นคงแน่นอนสูง ผมจึงถูกสอนให้วางแผนทุกอย่างเพื่ออนาคตข้างหน้า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ทำงานหนักและออมเงินตลอดชีวิตเพื่อวัยเกษียณจะได้สบาย

แต่โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก โลกหมุนเร็ว ไม่มีอะไรจิรังยั่งยืน หาความแน่นอนแทบไม่ได้ ความเหลื่อมล้ำก็มหาศาล ไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่จะไม่รู้สึกอินกับวิธีคิดแบบคนรุ่นผม ไม่รู้จะหวังน้ำบ่อหน้าขนาดนั้นไปเพื่ออะไร ในเมื่อเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เมื่อวันนั้นมาถึง สิ่งที่เราพยายามสร้างมาตลอดชีวิตมันจะยังพึ่งพาได้อยู่มั้ย บางทีความเหลื่อมล้ำที่ถ่างขึ้นก็ทำให้ต่อให้ไม่ใช้เงินเลยตลอดชีวิตก็ยังเข้าถึงเป้าหมายเหล่านั้นไม่ได้ด้วย ผมจึงไม่โทษที่คนรุ่นใหม่เลือกที่จะใช้เงินเพื่อหาความสุขในปัจจุบันก่อน มันคือหลักเศรษฐศาสตร์ธรรมดาที่เมื่อความไม่แน่นอนสูงขึ้น คนเราย่อมให้น้ำหนักกับปัจจุบันมากกว่า

ผมเองก็เริ่มที่จะเห็นด้วยกับวิธีคิดแบบนี้ มันสอดคล้องกับโลกยุคนี้มากกว่า แทนที่จะเราทนลำบากตลอดชีวิตเพื่อให้เรารวยแค่ตอนแก่ เราน่าจะเปลี่ยนมาทำให้ตัวเองมีความสุขสบายบ้างในตอนหนุ่มด้วย คือเฉลี่ยความสุขของเราออกไปตลอดชีวิต จริงๆ แล้วคนเราไม่จำเป็นต้องรวยก่อนก็มีความสุขก็ได้ ลองหันมามองหาความสุขแบบที่ไม่ต้องใช้เงินเยอะมากซึ่งสามารถหาได้ตั้งแต่วันนี้เลย บางทีที่เราอยากรวยก็เป็นเพราะคนรอบข้างกดดันเรา ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงของเรา

ชีวิตต่อไปของผมหลังจากนี้คงเป็นแนวสุขนิยมเป็นหลัก เลิกคิดว่าจะต้องประสบความสำเร็จอะไรก่อนแล้วค่อยมีความสุข แต่มุ่งตรงไปที่การหาความสุขเป็นหลัก เน้นความสุขที่ไม่ต้องใช้เงินมาก ได้ทำสิ่งที่ต้วเองต้องการจริงๆ คนอื่นเขาจะอยากได้อะไรก็เป็นเรื่องของเขา ไม่ต้องไปสนใจ น่าจะเป็นกลยุทธ์การดำเนินชีวิตที่ดีกว่าเดิม

แผนการกินสำหรับปี 2024 (อีกแล้ว)

ปีหน้าก็คงจะทำ OMAD ทุกวันพฤหัสต่อไป เพราะถ้าไม่ทำคงควบคุมน้ำหนักไว้ไม่ได้ (เจอบุฟเฟ่ต์บ่อย)​

ส่วนวันอื่นๆ นั้น มื้อเช้า คือ โยเกิร์ต ถั่ว เบอรรี่ ไข่ลวก (ขอกลับมากินโยเกิร์ตอีกครั้ง ยอมแพ้เป้าหมายลดโลกร้อนไปก่อน)

มื้อกลางวันและเย็นต้องกินนอกบ้านเป็นหลัก เนื่องจากเหตุผลเรื่องความสะดวก ถ้าจะทำกินเอง จะเปลี่ยนมาทำแค่อาหารจำพวกสุกี้ (ชาบู นาเบะ ผัดหมาล่า) และสลัดต่างๆ เท่านั้น หรือไม่ก็มีแค่ผลไม้ติดตู้เย็นไว้ เช่น แอ็ปเปิ้ล กิมจิ อะโวกาโด เท่านั้น ถ้าจะทำอาหารคาวกินอย่างอื่นกินเอง คงต้องเป็นโอกาสพิเศษที่อยากลองทำจริงๆ เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาพบว่าไม่มีเวลากินอาหารที่ตัวเองทำ ทำให้ยิ่งทำยิ่งอ้วน เพราะต้องกินให้หมด

ร้านประจำนอกบ้านจะเป็นร้านที่อยู่ทางผ่านเวลาเดินทาง อร่อย และราคาย่อมเยา เป็นหลัก อาทิ ร้านราดหน้าและส้มตำแถวคอนโด, ร้านอินเตอร์สยาม , หอยทอดชาวเล, บะหมี่สว่าง, ข้าวหมูแดงธานี, ข้าวมันไก่โกตา, Eat Am Are หรือไม่ก็ Yakiniku Like

น่าจะเป็นแผนที่มินิมัล และ Productive ที่สุดแล้ว

Reinventing myself

เวลาถูกถามว่า ถ้ามีเงินเยอะพอแล้ว คุณจะทำอะไรต่อไป คำตอบที่มีคนตอบมากที่สุดคือ เที่ยวรอบโลก

แต่การศึกษาพบว่า คนที่เกษียณเร็ว มักจะไปท่องเที่ยวแค่ประมาณ 3-4 ปีแรกเท่านั้น แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็จะอยู่เฉยๆ (ไปอีกนานมาก)​

โดยส่วนตัว ผมพบว่า คนเราไม่ได้อยากบริโภคไปเรื่อยๆ จนตาย แต่เราอยากรู้สึกว่าเรามีค่าได้ และงานประจำก็ให้สิ่งนี้แก่เราโดยอัตโนมัติ พอไม่มีงาน กลายเป็นเราต้องกระเสือกกระสนหาคุณค่าให้ตัวเอง กลายเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง

ณ ตอนนี้ ถ้าถามผม เกษียณแล้ว ผมอยากทำอะไรที่สุด ผมคิดว่า ผมอยากทำงานต่อไป เพราะยังไงๆ เราก็ยังต้องการความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าจากงาน เพียงแต่พอมีเงินแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานอะไร ดังนั้นการได้ทำงานที่ตัวเองรักไปตลอดชีวิตน่าจะเป็นการเกษียณที่มีความสุขที่สุด มากกว่าการไปเที่ยวรอบโลก

งานที่มีเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ประสบความสำเร็จ เพื่อที่จะได้มีแรงผลักนั้น ถ้าเป็นตอนหนุ่มๆ ก็น่าทำอยู่หรอก แต่พอแก่ตัวลง มันกลายเป็นกับดัก เพราะสุขภาพที่แย่ลง ข้อจำกัดที่มากขึ้น ทำให้เราไม่อาจลุยงานได้มากเหมือนแต่ก่อน ฉะนั้นงานหลังเกษียณควรเป็นงานที่ให้ความสุขกับเราได้แค่เพียงได้ทำ ไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายอะไรที่ยิ่งใหญ่คับฟ้า คล้ายกับสิทธารถะในวัยสี่สิบที่เลือกจะเป็นแค่คนขับเรือข้ามฝาก ทำอะไรซ้ำๆ กันทุกวัน ดังนั้นงานที่ผมอยากทำก็คงเป็นเพียงแค่งานอะไรก็ได้ ที่ทำให้เราได้อยู่กับสิ่งที่เรารักทุกวัน

ตอนนี้คิดว่าถ้าเราได้เป็นครูสอนกีต้าร์ หรือครูสอนภาษา หรือทำช่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี ก็น่าจะเป็นคำตอบแล้ว เหล่านี้เป็นงานเพราะมันสร้างรายได้ และพวกมันก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผมอยากทำในวัยนี้ ปัญหาตอนนี้ก็คงเหลือแค่การ reinvent ตัวเองให้มีคุณสมบัติที่จะไปทำงานเหล่านี้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ก็จะลองดูสักตั้ง

My Routine 2023

  • Push up 100
  • Chinese Podcasts
  • Practise Guitar
  • To the Gym
  • Home Cooking
  • Study Time
  • Watch Series

Four pillars of my life

  1. Health – Food Science
  2. Tech Investing – Youtube Podcasts
  3. Mandarin – Italki
  4. Acoustic Guitar – Compose songs

ความสุขของฉัน

  • เข้าสปาหรือฟิตเนสทั้งวัน ลืมโลกภายนอกไปชั่วคราว เดินออกมาเหมือนเกิดใหม่
  • ได้ดูหนังหรือซีรีส์ฟิวกู้ดสักเรื่อง ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ยังอดคิดถึงมันไม่ได้
  • ได้เจอคนที่นิสัยดีๆ หรือคนที่มีบุคลิกที่น่าสนใจ หรือคนได้พูดคุยกับคนที่คุยเรื่องที่สนใจเหมือนๆ กัน แบกออกรส หรือเป็นคนที่มีวิถึชีวิตที่ต่างกับเรามากๆ เหมือนได้เปิดโลก
  • ได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ทำให้รู้สึกเปิดกะลา
  • สายตากลับมาดีเหมือนเดิม อ่านหนังสือทั้งวันก็ไม่ปวดตา จะไปนั่งอ่านหนังสือในร้านกาแฟทุกวันเลย
  • เล่นดนตรีสักชิ้นได้ดีมากๆ เหมือนเป็นอวัยวะที่ 33
  • เขียนนิยายสักเล่มจบ ไม่ต้องดังก็ได้ แต่ขอให้มีเนื้อเรื่องที่เราชอบมันจริงๆ
  • เป็นเจ้าของร้านอาหารสักร้าน ที่มีอาหารที่เราชอบจริงๆ และคนอื่นๆ ก็ชอบมันมากๆ เป็นร้านที่เลี้ยงตัวเองได้ และเราไม่ต้องเฝ้ามันทั้งวัน

มานั่งเขียนอะไรแบบนี้ทำให้ค้นพบตัวเองเหมือนกันว่า เราไม่ได้ชอบวัตถุ แต่เราชอบประสบการณ์ดีๆ และทักษะดีๆ มากกว่า

ชีวิตคนเรามีหลายด้าน อยากลองมีชีวิตแบบอื่นบ้าง

ผมพบว่า ตอนนี้ไอดอลของผมหลายคน ล้วนเป็นคนที่เลือกอาชีพที่ตัวเองชอบเป็นหลัก และแทบจะไม่สนใจความคาดหวังของสังคมเลย คนหนึ่งเลือกที่จะทำ DIY และหาเงินผ่านช่องยูทิวบ์เรื่อง DIY, อีกคนหนึ่ง เรียนมาซะสูงเลย เลยสุดท้ายกลับไปเป็นครูสอนเด็กมัธยม เพราะชอบงานสอน แล้วก็เปิดร้านกีต้าร์ เพราะชอบกีต้าร์มาก ทั้งที่มันเป็นธุรกิจที่รอดยากมาก อีกคนก็เลือกที่จะไม่ทำงานประจำ แต่ทำช่องเกี่ยวกับภาษาจีน เพราะรักภาษาจีนมาก ยอมมีรายได้น้อยมาก เพราะอยากทำแต่สิ่งที่รักทุกวัน อีกคนก็เป็นเจ้าของแนวคิด หาเงินได้มากแค่พอจะไปกินชาบูชิเมื่อไหร่ที่อยากกินได้ก็พอ แล้วเวลาที่เหลือจากนั้นของทำสิ่งที่รักดีกว่า

ผมน่าจะเป็นคนที่ไม่กล้าทำอะไรแหกขนาดนั้น ก็เลยยังแบ่งรับแบ่งสู้อยู่ระหว่างความต้องการของตัวเอง กับความคาดหวังของสังคม ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำให้รู้สึกเหมือนกันว่าอาจใช้ชีวิตไม่เต็มที่ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การทำตามความคาดหวังของสังคม มันก็ให้ความมั่นคงในชีวิตมากกว่า ก็ยังดีที่พออายุมากขึ้น เริ่มมีเงินออมแล้ว (กินชาบูชิได้)​ ก็เลยหันมาหาความต้องการของตัวเองมากกว่าเดิม

ช่วงนี้มีความรู้สึกว่า ชีวิตช่วงที่ผ่านมาต้ังแต่เด็ก เราถูกปลูกฝังให้หาเงินเป็นหลัก และถูกวัดค่าจากความสามารถในการหารายได้ ในขณะที่ไม่ใช่ทุกคนในสังคมที่จะเป็นเหมือนเราไปหมด ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการหารายได้มากขนาดนั้น แต่พวกเขามีอย่างอื่นที่ใช้ตีค่าของตัวเองมากกว่า และมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศในเรื่องนั้น แม้ว่าจะไม่ได้ทำเงินมากก็ตาม บางทีเราก็รู้สึกว่าคนเหล่านั้นเขาก็มีความสุขเหมือนกัน และเราเองก็ไม่จำเป็นต้องมองเรื่องรายได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอไป ถ้าได้มีโอกาสได้ลองชีวิตแบบอื่นๆ บ้างก็น่าจะดี

ความคิดในหัวช่วงนี้ก็จะประมาณนี้ อาจจะดูเฟ้อเจ้อไปหน่อย ต้องขออภัยคนที่หลงเข้ามาอ่านด้วย